ประวัติหมู่บ้านต่างๆในตำบลเชียงดา อำเภอสร้างคอม


ตำบลเชียงดา
บ้านเชียงดา  หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ ซึ่งแยกจากบ้านโคกน้อย โดยมี นายเชียง เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ชาวบ้านจัดตั้งชื่อ
หมู่บ้านว่า “ บ้านเชียงด่า “ ต่อมานายเชียงตายไป นายพะลาด เป็นหัวหน้าหมู่บ้านแทน จึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านเป็น “ บ้านเชียงดา "
จนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านเชียงดาได้ตั้งเป็นหมู่บ้าน อพป. เมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย



บ้านแมด
คำว่าแมดเป็นชื่อของต้นไม้ใหญ่ชนิดหนึ่งเป็นไม้ตระกูลเดียวกับต้นยางที่เรารู้จักในปัจจุบัน ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ที่บริเวณริม
ฝั่งน้ำห้วยหลวงด้านทิศตะวันออกของวัดบ้านท่าแสนสุข( วัดโพธิ์ศรีสว่าง) ในปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่ชนิดหนึ่งชื่อว่าต้นแมดตั้งตะหง่านเป็น
จุดเด่นใครอยู่ที่ใดก็มองมาก็เห็นต้นแมดเป็นทางกลับบ้านได้ถูกต้อง ต่อมาต้นไม้ได้โค่นล้มลง สมัยคุณแม่ผู้สืบค้นยังเด็กท่านเล่าว่า
เคยเห็นขอนไม้ต้นแมดขังมีร่องรอยอยู่ ปัจจุบันไม่มีแล้ว ชาวบ้านในยุคนั้นจึงเรียกขานนามของหมู่บ้านที่พากันมาตั้งขึ้นว่า" บ้านแมด"
บริเวณที่หมู่บ้านแมดนี้เป็นชัยภูมิที่เหมาะสมกับการตั้งบ้านเรือนเป้นอย่างมาก กล่าวคือมีที่ตังอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีปลาน้ำจืดมากมายหลายชนิดทั้งที่มาจากแม่น้ำโขงและที่มีอยู่ในหนองน้ำในถิ่นที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก คุณพ่อผู้สืบค้นเคยเล่าว่าถ้าอยากกินปลาให้
ตั้งหม้อใส่เตาไฟไว้แล้วนั่งเรือพายออกไปสัก ๒๐๐ เมตร แล้วก็พายกลับมาปลามันจะกระโดดขึ้นและตกลงมาบนเรือสามารถนำมา
ทำอาหารกินอิ่มได้อย่างสบาย ไม่ต้องใช้เครื่องมืออะไรจับเลย ในฤดูน้ำหลากก็ไม่ถูกน้ำท่วม มีที่ราบดินทรายเหมาะแก่การทำนา
ทำสวน
ดังนั้นทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านสร้างคอมย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิม มาจับจองที่ทำกิน โดยการนำของขุนชนะนิกร
(นามสกุลหล้าคอม) กำนันตำบลสร้างคอมชักชวนญาติพี่น้องย้ายมาอยู่อาศัย ในสมัยแรกมีด้วยกัน ๕ ครอบครัว คือ ครบครัวของขุนชนะนิกร ( นามสกุลหล้าคอม ) ครบครัวของพ่อตู้ตุ้ม ( นามสกุลศรีสร้างคอม ) ครบครัวของตู้นารี ( นามสกุลหลงญาติ) ครบครัวของตู้คำหล้า ( นามสกุลบุญญะรัง ) ครบครัวของพ่อตู้ที่ ( นามสกุลโพนธาตุ ) พากันมาตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่าบ้านแมดเป็นหมู่บ้านหมู่ที่ ๒ ของตำบลสร้างคอม ต่อมา เมื่อตั้งตำบลเชียงดาบ้านแมดจึงถูกให้มาขึ้นกับตำบลเชียงดาเป็นหมู่บ้านที่ ๒ ของตำบลเช่นกันโดยจับจองเอาที่ดินริมฝั่งน้ำห้วยหลวงตั้งบ้านเรือน ( ทิศตะวันออกวัดท่าแสนสุข ปรือ ที่เรียกกันว่า คุ้มบ้านเหล่า )
ในสมัยนายอ้วน หลงญาติเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ย้ายข้ามทุ่งนามาจับจองที่ดินที่เป็นหมู่บ้านแมดในปัจจุบันเป็นที่ก่อสร้างบ้านเรือนและจับจองที่ทำนาและมีผู้คนเพิ่มมากขึ้น ต่อมาได้มีชาวต่างถิ่นได้ย้ายเข้ามาจากอุดรธานีบ้างจากจังหวัดนครราชสีมาบ้างเข้ามาจับจอง
ที่ดินทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่อาศัย กลุ่มนี้ไม่เน้นการทำนาแต่มุ่งประหอบอาชีพจับปลาน้ำจืด เพื่อแปรรูปเป็นปลาร้า
ส่งไปขายในจังหวัดอุดรธานี เมืองเลย หรือเมืองขอนแก่น จึงเกิดเป็นชุมชนย่อยขึ้นมาเรียกว่าคุ้มบ้านท่า ชาวบ้านกลุ่มนี้มีนายสมบูรณ์ แก้วศรีสุขเป็นผู้นำ มีครอบครัวอื่นดังนี้ ครอบครัวของนายสมบูรณ์ แก้วศรีสุข(พ่อของยายพิณ) ครอบครัวนายก่ำ (พ่อยายล้อมยายเลี้ยง) ครอบครัวนายขาว มุ่งโนนบ่อ(พ่อยายยวก ) ครอบครัวนายอิ่ม พินิจการ ( พ่อตานง ) ครอบครัวยายแป้น คำเพิ่มพูน
นอกจากห้าครอบครัวนี้แล้วยังมีญาติพี่น้องอพยพเพิ่มมาภายหลังอีกต่อมาย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิมก็มี ในคราวตำบลสร้างคอมถูกตั้งให้เป็นกิ่งอำเภอได้มีการขยายหมู่บ้านเพิ่มขึ้นบ้านแมดจึงได้แยกคุ้มบ้านท่ากับคุ้มบ้านเหล่าเป็นหมู่บ้านใหม่เรียกว่า บ้านท่าแสนสุข
มีนายสอน อาชีวะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อมีชาวบ้านเพิ่มมากขึ้นชาวบ้านได้ขยายไปจับจองที่ดินสำหรับทำนากันทางทิศตะวันตกของ
หมู่บ้านเป็นที่ทำนาทำสวน ในฤดูทำนา ( ช่วงเดือน พฤษภาคม – พฤศจิกายน ) ชาวบ้านก็จะย้ายครอบครัวของตนไปอยู่ที่เถียงนา
ของตนที่สร้างขึ้นแบบกึ่งถาวร มุงหญ้าปูด้วยฟากไม้ไผ่ฝาทำด้วยฝาขัดแตะใบตองเมื่อเสร็จจากการทำนา (ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน ) ชาวบ้านก็จะย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่รวมกันในหมู่บ้านจะอยู่แยกกันไม่ได้เพราะสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุมเป็นเช่นนี้ติดต่อกันมาเป็นทุกปี เมื่อผู้คนเพิ่มมากขึ้นจะขยายบ้านเรือนก็ลำบากเนื่องจากเจ้าของที่ไม่ยอมแบ่งปันหรือจำหน่ายให้จึงย้ายบ้านไปอยู่ที่นาของตนเมื่อมีผู้คนย้ายมามากขึ้นจึงรวมกันแยกหมู่บ้านขึ้นมาอีกเป็นหมู่บ้านใหม่เรียกว่าบ้านบึงสำราญ ( แต่ก่อนเรียกว่าบ้านน้อย ) มีผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ชื่อ นายหม่าน ทองละไมล์

บ้านบึงสำราญ
เดิมเป็นประชากรของบ้านแมดและได้ย้ายออกมาอาศัยอยู่ตามที่นาของตนเองโดยมี นายแซ่ม บุญญรัง เป็นหัวหน้าเพื่อน
พร้อมด้วยญาติพี่น้องในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ และที่ตั้งหมู่บ้านติดกับบึงน้ำพาน ( อ่างเก็บน้ำพาน ) อันกว้างใหญ่เย็นฉ่ำและมีความอุดม
สมบูรณ์ทั้งพืชผลทางการเกษตรและอาหารทำให้ชาวบ้านมีความเบิกบานสำราญใจชาวบ้านก็เลยตั้งชื่อบ้านว่า “ บึงสำราญ “ และ
บ้านบึงสำราญได้ก่อตั้งหมู่บ้านมาเป็นระยะเวลา ๒๘ ปี

บ้านโนนสมบูรณ์
บริเวณบ้านโนนสมบูรณ์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านเชียงดาได้ออกไปอยู่ตามที่นาตัวเองแต่ก่อนเป็นคนบ้านเชียงดา ได้มี
นายขวัญเป็นคนแรกที่ย้ายออกมาอยู่หลายปีก็มีคนที่มีที่นาอยู่ด้วยกัน มีตู้เต้ ตู้อ่อนตาชาวบ้านเชียงดา เรียกว่า “ คุ้มฝากทุ่ง “ แต่ก่อนตั้งอยู่ที่ริมทุ่ง ในราวปี ๒๕๐๑ มีนายกองมี โพนสิงห์ซึ่งมาเป็นเขยของนายนวล สูงสุมาน ได้ออกจากบ้านพ่อตาขึ้นมาตั้งอยู่ที่ริมทางแต่ก่อนเรียกว่าทาง “ กฐิน “ ขึ้นมาอยู่หลังเดียวอยู่มาหลายปีจึงมีเพื่อนบ้านตามขึ้นมาอยู่ด้วย ต่อมา เมื่อปี ๒๕๐๗ ได้แบ่งการปกครองเลยได้พากันตั้งชื่อบ้านว่า “ บ้านโนนสมบูรณ์ “ ตั้งอยู่ที่โนนและมีความอุดมสมบูรณ์ที่มีพื้นที่ติดกับน้ำพานด้วยปลาก็หากินง่ายเลยตั้งชื่อว่า “ บ้านโนนสมบูรณ์ “ โดยนายประสงค์ บำรุงบ้านทุ่ม เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก หมู่ที่ ๑๘ ต.สร้างคอม อ.เพ็ญ ต่อมา ต.สร้างคอมได้แยกออกมาจาก อ.เพ็ญ ได้ตั้งเป็น กิ่งอำเภอ บ้านเชียงดา ได้เป็นตำบล บ้านโนนสมบูรณ์ ได้เปลี่ยนจาก หมู่ ๑๘ ต.สร้างคอม
มาเป็น หมู่ ๔ ต.เชียงดาจนทุกวันนี้

บ้านเหล่าม่วง
บริเวณบ้านเหล่าม่วง เมื่อครั้งก่อน เป็นป่า พื้นที่ดอน ( ชาวพื้นบ้านเรียกกันว่า เหล่า ) มีต้นมะม่วงป่าใหญ่ขึ้นอยู่ในบริเวณนี้หลายสิบต้น มีท้องนาอยู่รอบ ๆ พื้นที่
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีนายผายโฮมชัย พร้อมด้วยนายบุญมี คำสร้าง ,นายสังกา ฆ้องชมภู ,นายเบ้า สวนเกตุ,
นายฮุย อ่อนโก๊ก และนายสุข นายสอน สุงสุมาลย์ ได้อพยพครอบครัวออกมาจากบ้านเชียงดา มาสร้างบ้านเรือนอยู่กับที่นา
ในบริเวณที่เหล่าต้นมะม่วงใหญ่แห่งนี้ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ จึงได้ตั้งให้เป็นหมู่บ้านขึ้น และใช้ชื่อตามสภาพพื้นที่ ชื่อว่า
“ บ้านเหล่าม่วง” มาจนถึงทุกวันนี้

บ้านโคกคอย
บ้านโคกคอย แยกออกจากบ้านเหล่าม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลเชียงดา อำเภอสร้างคอม จึงหวัดอุดรธานี ได้ขอตั้งหมู่บ้านขึ้น
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ซึ่งนายพุด ขันเขต เป็นผู้ใหญ่บ้านโคกคอย นายบัวไหล โฮมชัย กับ นายอุดม สีเทา เป็นผู้ช่วย แต่เดิมชื่อ
“ บ้านโคกสูง “ เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ดอน และเป็นป่า ต่อมาได้มีโครงการถนน ร.พ.ช. ตัดผ่าน ชาวบ้านจึงได้แยกตัวออกจากบ้านเหล่าม่วงและบ้านเชียงดาโดยมาสร้างบ้านติดกับถนน ร.พ.ช. และเปลี่ยนชื่อเป็น “ บ้านโคกคอย “ จนถึงปัจจุบัน

บ้านโคกสำราญ
บริเวณบ้านโคกสำราญตั้งอยู่บนสันเนินกลางป่าใหญ่ซึ่งรกรุงรัง คนสมัยนั้นเรียกว่าป่า “ โคก “ ส่วนทางทิศเหนือ และทิศใต้เป็นที่ลาดต่ำ คนสมัยนั้นเรียกที่ลาดต่ำว่า “ ก่อง “ จึงได้ก่อตั้งหมู่บ้านอย่างไม่เป็นทางการนี้ว่า “ บ้านโคกก่อง “ ตั้งมาได้ประมาณ ๑๓๐ ปี ผู้ก่อตั้งบ้านโคกก่องมีประวัติเชื่อถือได้ว่ามี ๑.นายจันดี ชาตินาม ๒. นายกระต่าย ๓. นายกล่ำ ๔. นายกองมี สมัยนั้นบ้านเชียงดา – โคกก่อง เป็นหมู่บ้านเดียวกันอยู่ในความปกครองของผู้ใหญ่บ้านคนเดียวกัน เพราะว่าประชากรไม่มากนักนับได้ไม่เกิน ๒๐ ครัวเรือน ทางการจึงกำหนดให้มีผู้ใหญ่บ้านโดยผ่านการเลือกตั้งบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านจึงมีอำนาจปกครองได้ทั้ง ๒ หมู่บ้านผู้ใหญ่บ้าน คนแรกคือ นายช่วย ชาตินาม แต่ก่อนบ้านเชียงดา – โคกก่อง อยู่หมู่ที่ ๖ ต.สร้างคอม อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ต่อมาประชากรเพิ่ม
มากขึ้น ความเจริญก็เพิ่มขึ้น การติดต่อกับทางอำเภอเพ็ญสมัยนั้นก็ลำบากเพราะรถโดยสารไม่ค่อยมี ทางการจึงได้ยกฐานะจากตำบลสร้างคอม มาเป็น กิ่งอำเภอสร้างคอม จากบ้านเชียงดา เป็นตำบลเชียงดา
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ จึงได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม “ บ้านโคกก่อง ” เป็น “ บ้านโคกสำราญ “

บ้านท่าแสนสุข
บ้านท่าแสนสุขเดิมเป็นบ้านแมดซึ่งเป็นผู้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านสร้างคอม ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเดิม มาจับจองที่ทำกิน โดยการนำของขุนชนะนิกร ( นามสกุลหล้าคอม ) กำนันตำบลสร้างคอมชักชวนญาติพี่น้อง ย้ายมาอยู่อาศัย ในสมัยแรกมีด้วยกัน ๕
ครอบครัว คือ ครบครัวของขุนชนะนิกร ( นามสกุลหล้าคอม ),ครบครัวของพ่อตู้ตุ้ม ( นามสกุลศรีสร้างคอม ) ครบครัวของตู้นารี ( นามสกุลหลงญาติ ), ครบครัวของตู้คำหล้า ( นามสกุลบุญญะรัง ) ครบครัวของพ่อตู้ที่ ( นามสกุลโพนธาตุ ) ได้พากันมาตั้งหมู่บ้าน
ขึ้นโดยจับจองเอมที่ดินริมฝั่งน้ำห้วยหลวงตั้งบ้านเรือนแต่ก่อนเป็นป่าดอนมีวัตถุโบราณ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และอื่น ๆ อีกมาก ต่อมาได้มีชาวต่างถิ่นได้ย้ายเข้ามาจากอุดรธานีบ้าง จากจังหวัดนครราชศรีมาบ้าง เข้ามาจับจองที่ดินทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
เป็นที่อาศัย กลุ่มนี้ไม่เน้นการทำนา แต่มุ่งประกอบอาชีพ จับปลาน้ำจืด เพื่อแปรรูปเป็นปลาร้าส่งไปขายในจังหวัดอุดรธานี เมืองเลย หรือเมืองขอนแก่น จึงเกิดเป็นชุมชนย่อยขึ้นมาเรียกว่า คุ้มบ้านท่า ชาวบ้านกลุ่มนี้มี นายสมบูรณ์ แก้วศรีสุข เป็นผู้นำ มีครอบครัวอื่นดังนี้ ครบครัวของนายสมบูรณ์ แก้วศรีสุข ( พ่อของยายพิณ ) ครบครัวของนายก่ำ ( พ่อของยายล้อม ยายเลี้ยง ) ครบครัวของ
นายขาว มุ่งโนนบ่อ ( พ่อยายยวก ) ครบครัวของนายอิ่ม พินิจการ (พ่อตานงค์ ) ครบครัวของขายแป้น คำเพิ่มพูล คนกลุ่มนี้ นำเอาประเพณี บุญสารทไทย วันเพ็ญเดือน ๑๐ เป็นประจำของทุกปี บ้านแมด บ้านท่าแสนสุข ถือว่าเป็นเทศกาลประจำปี และมี
ศาลเจ้าแม่ย่านาง ซึ่งเป็นที่จุดศูนย์รวมที่พึ่งทางใจของทั้ง ๓ หมู่บ้าน ตั้งอยู่ตลาดทางท่าแสนสุข บ้านแมด ซึ่งมีต้นประดู่ อายุเป็น
๑๐๐ กว่าปี เป็นสัญลักษณ์
ที่มา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี