ประวัติหมู่บ้านต่างๆในตำบลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม

ตำบลสร้างคอม
บ้านสร้างคอม ( ประกอบด้วย หมู่ที่ ๑ / ๒ / ๑๐ )
บริเวณหมู่บ้านสร้างคอมเมื่อครั้งก่อนเป็นเหล่า ( เหล่าหมายถึงป่าทึบ )หรือป่าดงดิบมาก่อนมีต้นไม้ใหญ่มากมาย เช่น
ต้นยาง ต้นสะแบง ต้นเต็ง และต้นรัง ฯลฯ เป็นต้น ต่อมามีพวกชาวบ้านสร้างแป้นได้ย้ายลงมาอยู่ เนื่องจากชาวบ้านสร้างแป้นมี
สาเหตุของการย้ายบ้านในครั้งนี้หลายประการ ซึ่งหมู่บ้านสร้างแป้นเดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของบ้านสร้างคอม ห่างกันประมาณ ๑ กิโลเมตร

เรื่องที่ ๑ สาเหตุที่หมู่บ้านสร้างแป้นย้ายบ้านหนีมาอาศัยอยู่ที่บ้านสร้างคอมเดิม คือ
๑.บ้านสร้างแป้น อดน้ำกินและน้ำใช้
๒.เสือชุกชุมออกมากินวัว ควายและสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ของชาวบ้านในตอนกลางคืน
๓.เป็นโรคระบาด คือ โรคหมากห่าง ( โรคหมากห่าง หมายถึง โรคฝีดาษ )
สาเหตุนี้ ชาวบ้านสร้างแป้นจึงได้ย้ายมาอยู่บ้านสร้างคอมและยังมีชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู
ก็มี(ตามคำบอกเล่า )
เรื่องที่ ๒ มีชาวบ้านบ่อใต้ ได้ย้ายมาอยู่บ้านสร้างคอม สาเหตุที่ย้ายมาเพราะบ้านบ่อใต้นี้ ได้เกิดโรคระบาดขึ้น คือ โรคหมากห่าง
( โรคฝีดาษ ) โรคห่า ( โรคอหิวาตกโรคหรือโรคท้องร่วง ) ทางไสยศาสตร์ในช่วงนั้นพูดว่า “ บ้านเดือด" และมีภูตผีปีศาจจะมาเอาคน
จึงได้ย้ายลงมาอยู่ที่บ้านสร้างคอม และมีชาวบ้านบาส่วนหนีขามไปตั้งรกรากอยู่ที่นครเวียงจันทร์ก็มีการตั้งชื่อบ้านสร้างคอม
เนื่องจากว่าชาวบ้านที่ย้ายมาจากสองหาบ้าน ดังที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้นได้มาขุดน้ำส้าง (บ่อน้ำ ) ขึ้นสามแห่งด้วยกัน
คือ ส้างคอม ส้างโพธิ์ และส้างคำ ที่ส้างคอม ( บ่อน้ำคอม ) นี้เป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่มากและมีน้ำที่ใสสะอาดซึมออกมาโดยมิได้ขาด
ชาวบ้านจึงได้ใช้บ่อนี้เป็นบ่อที่ใช้ดื่มและจะมีต้นคอม ( ภาษาไทยเรียกว่าต้นเล็บเยี่ยว ) เกิดขึ้นที่ปากบ่อนั้น ชาวบ้านจึงขนานนามบ่อนี้
ว่าส้างคอม และก็ได้นำชื่อบ่อน้ำนี้ไปตั้งชื่อหมู่บ้านที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใหม่นี้ว่า “ บ้านสร้างคอม “ จนถึงปัจจุบันนี้ ส่วนอีก ๒ บ่อ
คือ ส้างคำและส้างโพธ์นั้นให้ใช้เป็นน้ำใช้ ในปัจจุบันส้างโพธิ์ได้เกิดตื้นเขินไม่มีใครที่จะนำชาวบ้านรื้อหรือลอกให้ลึกลงมีน้ำใช้ตลอดเหมือนเดิมและประการหนึ่งก็ได้มีน้ำประปาใช้แล้วจึงไม่มีใครคิดบูรณะใช้และชาวนาที่ไปจับจองที่ทำนาในบริเวณนั้นจึงได้ถมส้างดังกล่าวสร้างคำ เป็นบ่อน้ำที่มีประวัติเล่าขานกันมาว่า คนแต่สมัยก่อนนั้นไปตักน้ำที่ส้างคำมาใช้นั้นถ้าหากว่าครุ ( ครุ คือ ภาชนะที่ใช้ตักน้ำซึ่งทำมาจากไม้ไผ่โดยนำมาสานคล้ายตะกร้าพอสานเสร็จแล้วก็จะทารอบ ๆ ตัวภาชนะนี้ด้วยชันบดละเอียดเป็นผงแล้วผสมเข้ากับน้ำมันยางเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำรั่วออกได้ ) เกิดหลุดมือหรือหลุดตะขอหล่นลงไปในน้ำส้างนี้ ครุจะไหลลอยไปโผล่ที่ท่านาเยียในลำห้วยหลวงเพราะที่ก้นส้างคำนี้จะมีรูขนาดใหญ่ ซึ่งคนเฒ่าคนแก่และชาวบ้านเชื่อกันว่ารูนี้เป็นรูของนางเงือกหรือรูพญานาคและมีผู้พบเห็นสัตว์ที่โผล่ขึ้นมาในช่วงที่คนเงียบ ๆ ภายในส้างคำนี้เป็นรูปร่างที่แปลก ๆ ตลอด ต่อมาชาวบ้านในสมัยก่อนกลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อผู้คนที่ไม่รู้เกิดดำน้ำลงไปตามเอาครุแล้วก็จะเกิดอันตรายขึ้นและเป็นการลำบากที่จะต้องเดินทางไปเก็บเอาครุซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลมากและมีพระเถระผู้ใหญ่ของชาวบ้านสร้างคอมได้นำชาวบ้านเอาดุมเกวียนไปอุดรูนี้ไว้เสีย ( ดุมเกวียนภาษไทยเรียกว่า เพลาเกวียนซึ่งเป็นพาหนะของคนในสมัยก่อน ) ปัจจุบันนี้ส้างคำก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่คนที่มาสร้างบ้านสร้างคอมคนแรกนั้นไม่มีใครเล่าขานถึงเลย บ้านสร้างคอมได้ตั้งขึ้นมา
ผ่านหลายยุคหลายสมัยซึ่งนานพอสมควร จึงมาตั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันขึ้นตามระบอบการปกครองของไทย ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของ
บ้านสร้างคอมหรืออำเภอสร้างคอมในปัจจุบัน คือ หมื่นชนะนิกร เป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อสร้างคอมได้รับแต่งตั้งเป็นตำบลบ้านสร้างคอมจึงแต่งตั้งกำนัน ซึ่งกำนันคนแรกคือ นายแดง ไม่มีนามสกุล เพราะสมัยก่อนไม่มีการตั้งนามสกุลขึ้นใช้เหมือนปัจจุบัน ไม่รู้ระยะเวลาดำรงตำแหน่งที่แน่นอน

บ้านโนนนกหอ
บริเวณบ้านโนนนกหอ เมื่อครั้งก่อนเป็นป่าดงดิบ ชื่อว่า " ดงนาเยีย" ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านมีหนองน้ำใหญ่ เรียกว่า “หนองนาเยีย" ซึ่งดงนาเยียแต่ก่อนเป็นดงใหญ่ป่าไม้ทึบมีสัตว์ป่านานาชนิดมากมายอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ
นกออหอ มากที่สุดเพราะว่าดงนาเยียมีต้นไม้ขนากใหญ่มาก ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ในสมัยนั้น จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามนกที่อาศัยอยู่ดง
โนน หมายความว่า ที่สูง นกหอ หมายถึง นกชนิดหนึ่งตัวใหญ่ คล้ายเหยี่ยวมีสีดำ และบินสูงมาก
นาเยีย เป็นชื่อของที่ใส่ข้าวเปลือก ของพ่อค้าซื้อข้าวในสมัยนั้น เพราะว่าคนสมัยก่อนการซื้อขายสินค้าต่าง ๆ หรือการ
ขนถ่ายถนนหนทางก็ไม่สะดวก จะต้องใช้เรือกะแซงขนสินคามาขึ้นที่ดงนาเยีย ซึ่งได้กล่าวกันมาชั่วลูกหลานว่า ดงนาเยีย หนองนาเยีย และท่านาเยีย มาเท่าทุกวันนี้
การตั้งถิ่นฐาน ได้มีชาวบ้านสร้างคอม ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ตามไร่ ตามนาตัวเอง ประมาณ ๕ - ๖ ครัวเรือน โยมีครอบครัว ตระกูล โฆษิต พันฆ้อง และลำเนาว์ มาตั้งถิ่นฐานก่อน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยการนำของ พ.ต.อ.วิทย์ พิทักษ์สันติพันธุ์ กับ
ชาวบ้านโนนนกหอ ร่วมกันบูรณะและพัฒนา วัด โรงเรียน ถนน ทำนบกั้นน้ำ อ่างเก็บน้ำ และสิ่งสาธารณะต่าง ๆ ในหมู่บ้านให้การพัฒนาเป็นแบบอย่างแก่ชนรุ่นหลังสืบมาเท่าทุกวันนี้

บ้านโพนฆ้อง
บริเวณบ้านเมื่อก่อนที่คนบอกเล่าว่า เป็นบ้านโพนทัน จุดที่ตั้งบ้านโพนทัน เดิมอยู่ที่ ดอนหมาจอก ปัจจุบันได้โยกย้าย
มาอยู่ใกล้กับหนองน้ำ คือ หนองผือ เมื่อก่อนที่ตั้งบ้าน เป็นป่าดงดิบ มีสัตว์ป่านานาชนิดที่มาอาศัยอยู่บริเวณนี้ ผู้ที่พาพรรคพวก
เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง มาตั้งหลักปักฐานไม่ทราบชื่อ
สมัยก่อนเมื่อแรกตั้งบ้านโพนฆ้อง ตามคนเฒ่าคนแก่บอกว่าจะมีจอมปลวกใหญ่อยู่และมีต้นหมากต้อง (ต้นกระท้อน)
อยู่กลางจอมปลวก จึงเรียกชื่อบ้านว่าบ้านโพนต้อง สมัยนั้นปากต่อปากว่าในจอมปลวกที่มีต้นกระท้อนอยู่ตรงกลาง จะมีเสียงฆ้อง
ดังขึ้นในจอมปลวกเฉพาะวันขึ้น ๑๕ ค่ำและแรม ๑๕ ค่ำ บางคนก็อยากจะทราบว่าในจอมปลวกนั้นจะมีฆ้องจริงหรือเปล่า ต่างคน
ก็ต่างเอาเสียม(จอบ)มาขุดดู แต่ก็ไม่พบฆ้องแต่ประการใด จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก “ ต้อง “ มาเป็น “ ฆ้อง “ คำว่า “ โพน "
เป็นภาษาอีสานโพนก็คือจอมปลวก คำว่า "ฆ้อง " ก็เป็นฆ้องที่พระสงฆ์ใช้อยู่ตามวัดต่างๆ จึงได้เรียกชื่อบ้านว่า “ บ้านโพนฆ้อง "
จนถึงปัจจุบัน

บ้านดงผักเทียม
บ้านดงผักเทียมในสมัยก่อนเป็นดงเป็นป่ามีสัตว์มากมายหลายชนิด มาอาศัยอยู่และมีหนองน้ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า
“หนองผักเทียม” มีต้นหญ้าชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนต้นหอม ต้นกระเทียม แต่ก่อนคนสมันก่อนเรียกว่า ต้นหญ้า ผักบั่ว ผักเทียม
ซึ่งจะเกิดขึ้นเต็มในหนองน้ำ มาตลอดเลยได้เรียกชื่อว่า หนองผักเทียม ตลอดจนถึงปัจจุบัน สาเหตุที่ตั่งชื่อ บ้านว่าบ้านดงผักเทียม
เนื่องจากสถานที่ตั้งเป็นป่าดงและมีหนองน้ำ เป็นแหล่งทำมาหากินจึงนำชื่อ ๒ แห่งมารวมกัน เป็นชื่อหมู่บ้านมาตลอดจนถึงทุกวันนี้
โดยมีนายไก่ ไม่ทราบนามสกุล และครอบครัวนายอ่อน ฆ้องชมภู ซึ่งได้ย้ายออกมาจาก บ้านโพนฆ้อง ต.เพ็ญ มาประมาณปี
พ.ศ. ๒๔๓๐ มีด้วยกันครั้งแรก ๒ ครอบครัว ต่อมาจึงได้ขยายออกเป็นบ้านใหญ่เจริญรุ่งเรืองจนถึงทุกวันนี้

บ้านโนนสาวเอ้
แต่เดิมบ้านโนนสาวเอ้ชาวบ้านสร้างคอมเรียกกันว่า "บ้านโนนชาด" เพราะโนนนั้นมีต้นชาดมากกว่าที่อื่น คำว่า " โนน"
หมายถึงพื้นที่ที่สูงกว่าทุกแห่งในละแวกนั้น และมีขอบเขตน้ำล้อมรอบดูสวยงาน ทิศเหนือจดห้วยวังช้าง คำว่า “ ห้วยวังช้าง “
แต่ก่อนได้รับคำบอกเล่าว่ามีช้างมาชุมนุมกินน้ำเป็นประจำ ปัจจุบันเรียกว่า “ อ่างเก็บน้ำวังช้าง “ ทิศตะวันออกจดห้วยบ่อ คำว่า “ บ่อ “
แต่ก่อนชาวบ้าน ๒ - ๓ หมู่บ้านแถวนั้น เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วได้พากันมาต้มเกลือที่นั่นเป็นประจำทุกปี ปัจจุบันเรียกว่า “ ห้วยบ่อ “ ด้านทิศใต้และทิศตะวันตก เป็นที่ราบจดเขตบ้านท่าเสียวและบ้านดอนบาก บริเวณที่ตั้งของหมูบ้านเป็นพื้นที่ราบสูงประมาณ ๓๐๐ กว่าไร่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีราษฎรกลุ่มหนึ่งอพยพครอบครัวมาจากต่างจังหวัด ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านโคกสว่าง แต่ก่อนขึ้นอยู่กับบ้านสร้างคอม หมู่ที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ อาจารย์พ่อครูทอง ทีภูงา กับพวกและศิษย์ จำนวน ๒๔ ครัวเรือน ได้พากันมาถากถางปลูกบ้านอยู่ในบริเวณโนนชาด ด้วยคามเห็นชอบของผู้ใหญ่ในขณะนั้น คือ นายผอง ศรีสังคม ซึ่งเป็นกำนันตำบลสร้างคอม ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้พากันย้ายสำเนาทะเบียนบ้านออกจากบ้านสร้างคอม หมู่ที่ ๑ มาขึ้นเป็นบ้านของตัวเองได้ชื่อว่า “ บ้านโนนชาด” ปี พ.ศ. ๒๕๐๔
ได้สร้างวัดขึ้น ๑ แห่ง ปี ๒๕๐๕ มีผู้คนหลายจังหวัดหลายหมู่บ้านย้ายเข้ามาอยู่รวมกันมากครอบครัว จึงขอจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพราะทางการเห็นความลำบากของเด็กนักเรียนที่ต้องเดินทางไปโรงเรียนบ้านสร้างคอม จึงพร้อมใจกันสร้างโรงเรียน
บ้านท่าเสียว
ท่าเสียว หมายความว่า ท่าน้ำ + ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ที่มาของชื่อหมู่บ้าน บริเวณท่าน้ำที่ชาวบ้านใช้อุปโภคบริโภค มีต้นไม้
ชนิดหนึ่งเรียกว่าต้นเสียว ชาวบ้านจึงเอาชื่อทั้งสองมารวมกัน คือ “บ้านท่าเสียว” ท่าน้ำมีต้นเสียวขึ้นปกคลุม บ้านท่าเสียวตั้งอยู่ติดกับลำห้วยหลวงและมีท่าน้ำ ตรงบริเวณท่าน้ำและเส้นทางเข้าหมู่บ้าน บ้านมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นเต็มไปหมด ต้นไม้ชนิดนี้ชาวบ้านเรียกว่า
ต้นเสียว ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านสมัยก่อนจึงยึดเอาท่าน้ำและต้นเสียว มารวมกัน จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านท่าเสียว ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ชาวบ้านท่าเสียว ผู้ก่อตั้งได้อพยพมาจากเมืองอุบลราชธานีและมุกดาหาร โดยการนำของ ๑.หลวงฉิมมา ไม่ปรากฏนามสกุล
๒. นายหล้า ไม่ปรากฏนามสกุล ๓.นายคง ไม่ปรากฏนามสกุล ๔. นายจ้ำ ไม่ปรากฏนามสกุล ต่อมาบ้านท่าเสียวมีประชากรเพิ่ม
มากขึ้น จำนวนครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ทางราชการจึงแยกออกเป็นสองหมู่บ้าน คือ บ้านท่าเสียว หมู่ที่ ๗ และบ้านท่าเสียว หมู่ที่ ๙
ในปัจจุบัน

บ้านโคกสว่าง
เมื่อครั้งก่อนบ้านโคกสว่าง มีอยู่ ๘ หลังคาเรือน คนกลุ่มนี้ อพยพมาจากบ้านสร้างคอม มาหาที่ทำกินแต่ก่อนมีแต่โคกแต่ป่า จึงช่วยกันถากถางที่ทำกินแบ่งปันกันและช่วยกันทำมาหากิน บ้านโคกสว่างแต่ก่อนเป็นเขตปกครองของบ้านสร้างคอม ผู้คนที่อาศัยอยู่แต่เดิม ใครจับจองอยู่ตรงไหน ก็ทำที่ป่าให้เป็นที่ของตนเอง คนจึงอพยพออกมาหาที่ทำกินเรื่อย ๆ บ้านโคกสว่าง เรียกชื่อหมู่บ้าน ตามเล่ากันว่า มีบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ชื่อว่า บ่อน้ำสร้างคำ เล่ากันว่าไม่มีใครสร้างขึ้นมา ผู้คนที่ถากถางป่าให้สะอาดขึ้นก็พบบ่อน้ำสร้างคำนี้เลยจึงเรียกกันมาติดปากจนทุกวันนี้ สมัยก่อนบ้านโคกสว่างที่ชื่อว่าบ้านโคกสว่าง เพราะมีแต่โคก และป่า ผู้คนที่อพยพมาอยู่จึงช่วยกันทำป่าบริเวณนี้ให้สะอาดขึ้น จึงตั้งว่า “บ้านโคกสว่าง” เล่ากันว่า ผู้คนกลุ่มแรกที่มาตั้งบ้านโคกสว่าง มีอยู่ด้วยกันประมาณ ๘ คน ๑.พ่อตาทิศใย
๒.พ่อตู้จันดี ๓.พ่อตานวล ๔.พ่อตาต้อย ๕.ตากะแต ๖. พ่อตาเหล็ก ๗.พ่อตาหน่อย ๘. หมอลำคำ จึงมีชื่อเรียกว่า
บ้านโคกสว่างจนถึงปัจจุบัน

บ้านสร้างคอม

เดิมแยกมาจาก บ้านสร้างคอม หมู่ที่ ๑ ตำบลสร้างคอม เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๔ โดยมี นายแสวง โพธิ์พรม
ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรก และเกษียณอายุเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๕

บ้านทุ่งโพธิ์
เมื่อก่อนปี พ.ศ. ๒๕๒๕ บ้านทุ่งโพธิ์แยกออกจากบ้านสร้างคอม หมู่ที่ 2 ตำบลสร้างคอม มี นายสมร ลำเนาว์ ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านคนแรก ที่ตั้งของบ้านทุ่งโพธิ์ แต่ก่อนเดิมเป็นทุ่งนามีต้นโพธิ์ใหญ่เป็นสัญลักษณ์ สมัยก่อนเมื่อแรกมีชาวบ้านสร้างคอม ม.๑ และ ม. ๒ ย้ายออกมาปลูกบ้านอยู่กับที่นาของตนเอง เพื่อเกิดความสะดวกในการทำนา ต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีลำต้น
ขนาดใหญ่ สมัยก่อนชาวบ้านมีอาชีพ ต้มเกลือที่บ่อใต้ ชาวบ้านจะมีประเพณี บวงสรวงเจ้าปู่บ่อใต้ ที่ชาวบ้านได้เชื่อถือเคารพสักการะ
มาแต่ไหนแต่ไร อาชีพส่วนใหญ่ทำนา และจับปลาน้ำจืด เนื่องจากบ้านทุ่งโพธิ์ ทางทิศตะวันออก จดหนองน้ำห้วยบ่อ ทิศใต้จดลำน้ำ
ห้วยบ่อ มีปลาซุกชุม บุคคลที่ก่อตั้งบ้านทุ่งโพธิ์ นายปัน สร้างท้าว ย้ายมาจาก บ้านสร้างคอม หมู่ที่ ๑ ตำบลสร้างคอม ผู้ใหญ่บ้าน นายสมพงษ์ โสภารักษ์ และดำรงตำแหน่งกำนันตำบลสร้างคอม ปัจจุบัน

บ้านไทยสวรรค์
เดิมบ้านโพนฆ้องตั้งมาประมาณ ๒๐๐ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นายวันดี โพนธาตุ เป็นผู้ใหญ่บ้านเห็นว่าบ้านโพนฆ้อง สมควรจะแบ่งออกเป็นสองหมู่บ้าน จึงได้เชิญคณะกรรมการหมู่บ้านมาประชุมปรึกษาหารือกันเพื่อหาแนวทางแบ่งแยกเป็นหมู่บ้านถึงสามครั้ง จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้แบ่งหมู่บ้านโพนฆ้อง ออกเป็นสองหมู่บ้าน ขณะนั้นมี นายบัวจันทร์ คำมันตรี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการหมู่บ้านจึงได้มอบหมายหน้าที่ให้ นายบัวจันทร์ คำมันตรี ทำหนังสือขอแบ่งหมู่บ้านถึงกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2524 กระทรวงมหาดไทย ได้มีคำสั่งประกาศบ้านโพนฆ้องออกเป็นสองหมู่บ้าน และทางกิ่งอำเภอสร้างคอมได้กำหนดวันเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน
วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๒๔ มี นายวิจิตร พลสิงห์ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ซึ่งอยู่ในเขตที่ดินบ้านไทยที่คนโบราณเรียก


เป็นประจำ จึงได้เรียกชื่อว่า “บ้านไทยสวรรค์”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น